วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

How to สูตร วิธีทำ ขนมใส่ไส้ ขนมไทย ขนมไทยโบราณ ขนมหวาน บ้านฟินฟิน finfincooking barnfinfin

ขนมใส่ไส้ มะพร้าวน้ำตาลไหม้

ไส้ขนม จะหอมกลิ่นน้ำตาลไหม้ คล้าย ๆ อบควันเทียน แต่ไม่ใช่  ใครไม่ชอบกลิ่นควันเทียน 

ลองกลิ่นน้ำตาลไหม้ดูนะคะ เผื่อจะหลงรัก ขนมไทย กลิ่นน้ำตาลไหม้ แบบเจี๊ยบ

*   มีคลิปวิดีโอวิธีการทำ อยู่ด้านล่างนะคะ


เริ่มจากตัดใบตองเตรียมไว้  ประมาณ 60 ชุด (เนื่องจากในสูตรทำได้ประมาณ 60 ห่อ)
  • ตัดใบตอง ด้านใน (เล็ก) ขนาด กว้าง 3.5 นิ้ว ยาว 7 นิ้ว (ดูเพิ่มเติมในคลิปด้านล่างนะคะ)
  • ตัดใบตอง ด้านนอก (ใหญ่) ขนาด กว้าง 5.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว (ดูเพิ่มเติมในคลิปด้านล่างนะคะ)


ไส้ขนม  (ปั้นไส้ขนม 5 กรัม ปั้นได้ประมาณ 60 ลูก)

1. มะพร้าวขูด 250 กรัม 
/ 250 g. Grated coconut.
2. น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม250 g. Coconut Palm Sugar
3. เกลือสมุทร  ( 1 กรัม) 1/4 ช้อนชา   / (1 g.) 1/4 tsp. Sea Salt.
4. น้ำสะอาด 200 มิลลิลิตร / 200 ml. Water.


ผัดไส้ขนม

เคี่ยวน้ำตาลให้ไหม้  ให้ไส้ขนมหอมกลิ่นน้ำตาลไหม้  
แทนการอบควันเทียน ใครชอบกลิ่นอบควันเทียน นำไส้ขนมไปอบควันเทียนก่อนห่อ ได้ตามชอบนะคะ

  • นำกระทะตั้งไฟให้ร้อน นำน้ำตาลมะพร้าวลงละลายในกระทะ คนไปเรื่อย ๆ จนน้ำตาลเริ่มไหม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม (ระวังน้ำตาลไหม้เกินไปจะทำให้ไส้ขนมขม นะคะ หากไม่มั่นใจใช้น้ำตาลมะพร้าวผสมน้ำตาลทรายแดงช่วยให้ไส้ขนมสีเข้มสวยแทนก็ได้ค่ะ หากเคี่ยวน้ำตาลได้ความไหม้ที่พอดี จะทำให้ได้กลิ่นน้ำตาลไหม้หอมอ่อน ๆ ฟินมากค่ะ) 
  • หลังจากเคี่ยวน้ำตาลได้สีเข้มแล้ว ใส่น้ำสะอาด หลังจากใส่น้ำลงไปแล้วน้ำตาลจะแข็งจับเป็นก้อน ต้ม / คน จนน้ำตาลละลายอีกครั้ง 
  • จากนั้น ใส่มะพร้าวขูด ตามด้วยเกลือสมุทรป่น ผัดให้เข้ากัน  ผัดไส้ขนมไม่ให้แห้งมาก ให้มีน้ำฉ่ำ ๆ อยู่บ้าง หากผัดไส้ขนมแห้งไป เวลานึ่งขนมออกมาแล้วไส้จะแห้ง ๆ ดูไม่ฉ่ำไม่น่ากิน แต่หากผัดไส้ฉ่ำไปก็จะปั้นไส้ขนมเป็นก้อนได้ยากหน่อยนะคะ
  • หลังจากผัดไส้ขนมเสร็จแล้ว นำไส้ขนม เข้าแช่ในตู้เย็นข้ามคืน การแช่ไส้ขนมในตู้เย็นข้ามคืน จะทำให้ปั้นไส้ขนมเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น แช่หลายคืนยิ่งปั้นง่ายค่ะ (แต่หากผัดไส้ฉ่ำไปก็อาจจะปั้นยากหน่อยนะคะ) การปั้นไส้ขนมเป็นก้อน ทำให้ห่อขนมง่ายขึ้นค่ะ 
  • หลังจากแช่ไส้ขนมแล้ว นำไส้ที่สามารถปั้นได้แล้ว มาปั้นเป็นก้อนละ 5 กรัม





แป้งห่อไส้ขนม  (ปั้นแป้ง 8 กรัม) 

1. แป้งข้าวเหนียว 250 กรัม  250 g. Glutinous Rice flour.
2. น้ำใบเตย 200 มิลลิลิตร / 200 ml. Pandan Juice.

* เจี๊ยบปั่นใบเตยแก่ 40 กรัม กับน้ำสะอาด 220 มิลลิลิตร ปั่นเผื่อไปหน่อยนึงค่ะ แต่ใช้น้ำใบเตยแค่ 200 มิลลิลิตร 


นวดแป้ง
  • นำแป้งใส่ชามผสม ตามด้วย น้ำใบเตย ครึ่งนึงก่อน (100 มิลลิลิตร) กะเอาก็ได้ค่ะ ไม่ต้องเป๊ะก็ได้ นวดแป้งกับน้ำใบเตยให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำใบเตยที่เหลือ แล้วนวดให้เข้ากันอีกครั้ง (หากเทน้ำใบเตยลงไปทีเดียว 200 มิลลิลิตร อาจจะทำให้แป้งเหลวไปนะคะ แต่ก็สามารถเทลงไปได้ หากนวดแล้วเหลวไป เติมแป้งเพิ่มได้ตามสะดวกค่ะ) 

ห่อไส้ขนม
  • ปั้นแป้ง 8 กรัม แล้วนำไปห่อไส้ขนมที่ปั้นไว้ จากนั้นเก็บใส่กล่องปิดฝา (รองกล่อง ด้วยใบตองทาน้ำมัน หรือจะทาน้ำมันที่กล่องเลยก็ได้ค่ะ เพื่อไม่ให้ขนมติดกล่อง หรือภาชะนะ ที่จะใช้เก็บ)  



หน้ากะทิ

1. กะทิ เรียลไทย 1,000 มิลลิลิตร / 1,000 ml. Real Thai Coconut Milk.
2. แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
 / 100 g. Rice Flour.
4. น้ำตาลทราย 50 กรัม / 50 g. Sugar.
5. เกลือสมุทร (5 กรัม) 1 ช้อนชา  
  ( 5 g.) 1 tsp. Sea Salt.

เจี๊ยบใช้กระทะใบเล็ก กวน 2 กระทะนะคะ (หากกวนทีเดียวใช้อัตราส่วนด้านล่าง) หรือหากตักกะทิห่อน้อยไม่ห่อหนา กวนกระทะเดียวตามสูตรข้างต้นก็อาจจะพอ ของเจี๊ยบตักกะทิห่อหนาพอสมควร ใช้ 2 กระทะ ถึงจะพอ ลองกวนตามสูตรข้างต้นก่อนก็ได้ค่ะ หากไม่พอค่อยกวนเพิ่ม 


1. กะทิ เรียลไทย 2,000 มิลลิลิตร / 2,000 ml. Real Thai Coconut Milk.
2. แป้งข้าวเจ้า 200 กรัม
 / 200 g. Rice Flour.
4. น้ำตาลทราย 100 กรัม / 100 g. Sugar.
5. เกลือสมุทร 
(10 กรัม) 2 ช้อนชา    ( 10 g.) 2 tsp. Sea Salt.


กวนหน้ากะทิ
  • ร่อนแป้งใส่กระทะ ที่จะใช้กวน ตามด้วย น้ำตาลทราย เกลือ
  • จากนั้นใส่กะทิ คนให้เข้ากันดี ก่อนนำขึ้นตั้งไฟ
  • หลังจากคนแป้งให้เข้ากันดีแล้ว นำกระทะ ขึ้นตั้งไฟ ใช้ตะกร้อมือ กวนไฟอ่อน กวนไปเรื่อย ๆ จนแป้งเป็นเนื้อครีมข้น  จากนั้นปิดไฟเตา แล้วกวนต่อไปเรื่อย ๆ จนแป้งกะทิเย็นลง
  • จากนั้นแป้งหน้ากะทิ ไปตักห่อขนมที่ปั้นไว้  ระหว่างห่อ หากแป้งหน้ากะทิจับตัวกันเป็นก้อน คนด้วยตะกร้อมือให้เนื้อแป้งเนียน คนได้ตลอด หากแป้งจับกันเป็นก้อน

  • หลังจากห่อขนมเสร็จแล้ว นำขนมไปนึ่ง 25-30 นาที หรือจนกว่าขนมจะสุก 





คลิปวีดีโอ วิธีการทำ



สามารถติดตามเจี๊ยบได้ทางช่องทางอื่น 
ตามลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ 
:











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น